ข้อมูลทั่วไปจังหวัดสิงห์บุรี

ประวัติความเป็นมา

    สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสิงห์บุรี เดิมใช้ชื่อว่า สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดสิงห์บุรี ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2520
สังกัดกรมประชาสงเคราะห์กระทรวงมหาดไทย และต่อมาได้โอนมาสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 โดยให้บริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ประชาชนที่ประสบปัญหาสังคม ฟื้นฟูและพัฒนากลุ่มผู้ด้อยโอกาสทุกประเภท อาทิ เด็ก เยาวชน สตรีคนพิการ ผู้ติดเชื้อ และผู้สูงอายุ
ในปี 2545 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545  ซึ่งมีผลบังคับใช้
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดได้ย้ายไปสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัดสิงห์บุรี และภายหลังได้เปลี่ยนเป็นสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสิงห์บุรี ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงาน
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25547 เป็นราชการส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

    สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสิงห์บุรี ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนกระทรวงในจังหวัด มีภารกิจหลักในการ ดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมการสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงใน ชีวิตสถาบันครอบครัวและชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  ******************

 

วิสัยทัศน์จังหวัดสิงห์บุรี (Vision)

“ศูนย์กลางอาหารและเกษตรปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวสร้างสรรค์ สังคมเป็นสุข”

อาหาร เกษตรปลอดภัย

  1. ผู้ผลิต/ผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดี

  2. รับรองแหล่งผลิต

  3. ระบบรับรองมาตรฐาน/กำกับดูแล

สังคมอยู่เย็นเป็นสุข

  สังคมมีความสงบสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีรายได้เพียงพอ มีความสุข และยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงเป็นสังคม
  แห่งการเรียนรู้

พันธกิจ (Mission)

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภาคเกษตร และเพิ่มมูลค่าการผลิต โดยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

2. อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

3. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาระบบโครงสร้างทางสังคม ทุนทางสังคม และวิถีชีวิตตามหลัก
    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าประสงค์ (Goal)

1. ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพปลอดภัย มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า มีบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยได้มาตรฐาน สู่ตลาดผู้บริโภคผ่านหลายช่องทาง

2. เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว และบริการท่องเที่ยวมีคุณภาพได้มาตรฐาน

3. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial